เทคนิค D-P-P สู้การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน


       
           การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนผู้เรียนเป็นสำคัญ         มีการบูรณาการในรายวิชาต่างๆ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาสมรรถนะ ความรู้ และทักษะ ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ  เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
           สำหรับเทคนิค D-P-P สู่การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานนี้ ผู้จัดทำได้นำประสบการณ์ที่ได้จากการสอนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน และจากการเป็นที่ปรึกษาของชุมนุมโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับการแข่งขัน มานานกว่า 20 ปี โดยผู้จัดทำได้ศึกษา ออกแบบ ทดลองใช้ เทคนิควิธีต่างๆ แล้วนำมาวิเคราะห์ สรุปเป็นเทคนิคที่เหมาะสมกับการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่จะทำให้เกิดความภาคภูมิใจแก่นักเรียนรวมทั้งองค์กร 

         D (Do)  คือ ขั้นแรกเมื่อนักเรียนคิดที่จะทำโครงงาน เทคนิคที่นำมาใช้เริ่มต้น     ด้วยการสนทนา (Discussion) เพื่อศึกษาแนวคิดพื้นฐานความรู้ และความสนใจของนักเรียน มีการอภิปราย (Debate) ควบคู่ไปด้วย เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนมีการใช้ความคิดขั้นสูง มีการคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งการแสดงออกถึงความตระหนักในด้านต่างๆ การคำนึงถึงผลกระทบที่มาจากการเปลี่ยนแปลง   ของโลก เพื่อนำมาสู่หัวข้อการทำโครงงาน

       
        P (Project)  คือ ขั้นต่อมาที่นักเรียนจะต้องใช้กระบวนการในการหาคำตอบให้กับหัวข้อโครงงานที่ตั้งไว้  เทคนิคที่นำมาใช้แบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้
                    - Problem  เป็นการระบุปัญหาหรือการตั้งคำถามสำหรับสิ่งที่ต้องการศึกษา
                    - Plan       เป็นการวางแผนในการทำโครงงาน โดยมีการออกแบบโครงงาน การกำหนดขั้นตอนการทำโครงงาน ระยะเวลาในการทำโครงงาน รวมถึงการมอบหมายงาน เป็นต้น
                    - Process   เป็นกระบวนการที่นำมาใช้ในการทำโครงงาน ได้แก่  สืบค้น(Research)  สำรวจ(Survey)  สัมภาษณ์ (Interview) สังเกต (Observe) เก็บรวบรวมข้อมูล (Data collection) วิเคราะห์ (Analysis) การสรุป (Conclusion) และการนำไปประยุกต์ใช้ (Apply) 

         P (Proud)  คือ ขั้นสุดท้ายของการสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดความภาคภูมิใจ   เทคนิคที่นำมาใช้โดยนักเรียนจะมีการนำเสนอ (Presentation) ผลงานของตนเองในรูปแบบต่างๆ  มีการเผยแพร่ (Propagate) ผลงานในระดับต่างๆ รวมทั้งการส่งผลงานเข้าร่วมประกวด/แข่งขัน   ในระดับต่างๆ การได้รับรางวัลจากการประกวด/แข่งขันนั้นแสดงถึงความเป็นโครงงานที่มีคุณภาพ    (good quality) ประสบความสำเร็จ (Triumphantly) และเป็นที่ยอมรับ (Be accepted) ซึ่งส่งผลให้นักเรียนที่ทำโครงงานเกิดความภาคภูมิใจ (Proud) ในตนเอง  เพื่อนนักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ (Proud) ในสถาบัน  ผู้ปกครองมีความภาคภูมิใจ (Proud) ในบุตรหลาน คนในชุมชนมีความภาคภูมิใจ (Proud) ต่อองค์กรการศึกษา

สรุปขั้นตอน
เทคนิค D-P-P สู่การจัดการเรียนรู้สู่โครงงาน





           การสร้างผลงานให้เกิดความภาคภูมิใจของนักเรียน ผู้ปกครอง โรงเรียน และชุมชนนั้น ครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะแนวทางที่ครูได้จากการนำประสบการณ์การจัดกิจกรรมการสอนที่กลั่นกรองแล้วว่าเทคนิคD-P-P ที่นำมาแนะนำให้นักเรียนใช้นั้นเป็นสิ่งที่เหมาะสม และนำมาพัฒนานักเรียนได้ โดยนักเรียน คือ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะเป็นผู้นำเทคนิค     D-P-Pไปใช้จนเกิดเป็นคุณลักษณะส่วนตัวของนักเรียนในการสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง โดยนักเรียนต้องมีการฝึกฝนทักษะต่างๆ มีการทำซ้ำ มีการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นขณะทำกิจกรรม มีความมุ่งมั่น มานะ อดทน ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก ซึ่งเป็นไปตามสมรรถนะลักษณะสำคัญของผู้เรียนตามที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดไว้ ได้แก่ ความสามารถในการสื่อสาร . ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต  และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี สำหรับครู ที่ปรึกษาชุมนุมต้องทำหน้าที่ในการให้คำแนะนำ คำปรึกษา ดูแลระบบการทำงานของนักเรียน    อำนวยความสะดวกให้กับนักเรียนอย่างทั่วถึง และมุ่งมั่นเช่นเดียวกับนักเรียน นอกจากนี้การได้รับ     การสนับสนุนด้านงบประมาณ ความช่วยเหลือ กำลังใจ และความรู้ จากผู้ปกครอง คณะครู บุคลากรในโรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา หน่วยงานบุคคลต่างๆในชุมชน รวมถึงนักวิชาการที่สามารถให้ความรู้ระดับสูงกับนักเรียนก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้การพัฒนากิจกรรมชุมนุมคิดเป็นเล่นสนุก โดยใช้เทคนิค D-P-P สู่การจัดการเรียนรู้สู่โครงงาน ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ 



ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม : ครูดวงพรพรรณ เขตสาคร
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเพรักษามาตาวิทยา จ.ระยอง
โทร : 038 651 971








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น